Monday, December 13, 2010

Kindle 3 Shortcuts รวบรวมคีย์ลัดต่างๆครับ ^_^

Kindle 3 Shortcuts: คีย์ลัดทั่วไป  

  • alt + shift + G = แคปเจอร์หน้าจอ
  • alt + G = refresh หน้าจอใหม่
  • shift + alt + m = เล่นเกม minesweeper (กดจากหน้า homescreen)
  • alt + home = ไปที่ Kindle Store
  • alt + ตัวอักษรแถวบนสุด = numbers 1-9 เช่น alt+q = 1
  • กด menu เพื่อดูเวลาที่แถบด้านบน
  • กด menu ที่หน้า homescreen เพื่อดูหน่วยความจำที่เหลือ
  • ปิดเครื่อง kindle 3 โดยเลื่อนปุ่ม power slide แล้วค้างไว้นาน 7 seconds
  • รีเซตเครื่อง kindle โดยเลื่อนปุ่ม power slide แล้วค้างไว้นาน 15 seconds (หรือเลือกได้จากกดเมนูในหน้า Setting)
  • เปลี่ยน primary dictionary โดยกดเมนูในหน้า Setting
 

Kindle 3 Hot Keys ขณะที่อ่านหนังสืออยู่

  • alt + B = เพิ่มและลบ bookmarks
  • right arrow on nav controller = ข้ามไปที่ chapter ถัดไป
  • left arrow on nav controller = ข้ามไปที่ chapter ก่อนหน้า
  • alt+Enter บนโน้ตหรือ highlight ข้อความเพื่อส่งข้อความผ่าน Facebook หรือTwitter
  • ขณะดูเอกสาร PDF กดปุ่ม Shift กับ 5-way controller เพื่อ pan บริเวณที่อ่านอยู่ทีละนิด
Text-to-Speech
  • shift + Sym = เปิดหรือหยุดระบบ Turn text to speech
  • กดปุ่ม back เพื่อปิด text to speech
  • กดปุ่ม spacebar เพื่อ pauses text to speech
  • เลื่อน cursor ไปที่ตัวหนังสือเพื่อเริ่ม text to speech จากตรงที่เลื่อน cursor ไป
Music Controls
  • alt + space = เล่นหรือหยุดเพลง
  • alt + f = ข้ามไปที่ track ต่อไป
 

Image Viewer Functions

  • กด q = zoom in
  • กด w = zoom out
  • กด e = reset zoom
  • กด c = actual size
  • กด f = full-screen
  • กด r = rotate
  • กด nav controller = pan
  • กดปุ่ม forward และ back = cycle through images

Thursday, October 28, 2010

รีวิว Amazon Kindle


ผมชอบอ่านหนังสือ จำได้ว่าเมื่อตอนวัยรุ่นสมัยเรียนมัธยมผมจะพกหนังสือติดตัวตลอดและอ่านทุกครั้งที่มีเวลาว่าง (ซึ่งมีเหลือเฟือเมื่อเทียบกับตอนนี้) แต่นั่นเป็นความประทับใจในอดีต เพราะปัจจุบันหาเวลาอ่านหนังสือได้ยากเต็มที นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้อ่านหนังสือไม่ได้ เช่น หนังสือที่ชอบอ่านไม่สามารถพกพาไปได้สะดวก อย่างนิยายเล่มล่าสุดของ Stephen King อย่าง Under The Dome ที่หนากว่า 1,000 หน้า ต้องหาเวลานั่งอ่านเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้อ่านไม่ถึงไหน
ปัญหาอีกอย่างก็คือหนังสือดีๆ นั้นหายาก ในประเทศไทยเห็นจะมีแต่ Kinokuniya ที่มีหนังสือภาษาอังกฤษให้เลือกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ "ขายดี" อย่างที่ร้านหนังสือส่วนมากสั่งมาขาย แต่ครั้งจะไปสยามเพื่อซื้อหนังสือก็ไม่ใช่เรื่องสะดวก เพราะหาโอกาสและเวลาไปยาก
ปัญหาสุดท้ายคือขนาดตัวหนังสือ เมื่ออายุมากขึ้น สายตาย่อมประสิทธิภาพลดถอยลง ยิ่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน การใช้สายตาจ้องตัวหนังสือขนาดเล็กในหนังสือปกอ่อนราคาประหยัด หรือตัวพิมพ์ที่ไม่คมชัดในหนังสือต้นทุนผลิตต่ำจำนวนมาก ย่อมไม่เป็นผลดี
ด้วยเหตุทั้งปวงนี้ทำให้ผมตัดสินใจซื้อเครื่องอ่าน e-book จาก Amazon เรียกว่า Kindle (Version 2) มาทดลองใช้ดู
Amazon Kindle
ราคาของ Kindle อยู่ที่ 259 USD แต่พอรวมปกหนัง ค่าส่ง (DHL) และภาษีแล้ว ตกอยู่ที่ 395.12 USD หรือประมาณ 15,000 บาท การสั่งซื้อราบรื่นไม่มีปัญหา DHL มาส่งให้ที่บ้านหลังสั่ง 3 วัน โดยระหว่างรอสามารถดู tracking ว่าของอยู่ที่ไหนแล้ว ผ่านหน้า account ของ Amazon ซึ่งสะดวกและละเอียดดีมาก
จุดเด่นของเครื่องอ่านหนังสือแบบนี้ คือหน้าจอที่เป็น E Ink ซึ่งเหมือนกระดาษจริง ตัวหนังสือคมชัด (จำนวน Pixel ต่อหน่วยมากกว่าจอ LCD ธรรมดา) และประหยัดไฟมาก เพราะไม่มี backlight (หมายถึงต้องใช้แสงจากสภาพแวดล้อมในการอ่าน) และกินไฟต่อเมื่อมีการเปลี่ยนหน้าจอ (พลิกหน้าหนังสือ) เท่านั้น โดยถ้าปิด wireless สามารถอ่านได้มากกว่า 2 อาทิตย์โดยไม่ต้องชาร์จไฟ
Kindle Screen
ตัวหนังสือสามารถเลือกขนาดได้ ทำให้เหมาะกับผู้สูงอายุอย่างมาก (ไปอ่านดูใน discussion ผู้ใช้ พบว่าผู้ใช้จำนวนมากอายุมากกว่า 40-70 หรือมากกว่า) และมี Text-to-Speech ให้อ่านออกเสียงให้ฟัง (เสียบหูฟังหรือฟังผ่านละโพงในตัวได้) นอกจากนั้นยังมีพจนานุกรมขนาด 250,000 คำในตัว ซึ่งมีประโยชน์มากกับการฝึกภาษาอังกฤษเพราะใช้สะวด สามารถชี้ไปที่คำที่ต้องการแล้วคำแปลจะขึ้นมาด้านล่างจอทันที
จุดเด่นที่ Kindle ต่างจากเครื่องอ่าน e-book อื่นๆ ก็คือ Global Wireless นั่นคือผู้ใช้สามารถต่ออินเทอร์เน็ตไปยังร้านหนังสือของ Amazon ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือได้เกือบทุกที่ทั่วโลกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและไม่มีข้อจำกัดใดๆ ทำให้การซื้อหนังสือง่ายและสะดวกมาก ผมซื้อหนังสือมาแล้ว 3 เล่มด้วยวิธีนี้ การซื้อกดครั้งเดียว ไม่ยุ่งยาก และหนังสือจะถูกดาวน์โหลดภายในไม่กี่นาทีผ่านเครือข่าย EDGE
หนังสือที่ขายมีกว่า 400,000 เรื่อง แต่หลายเรื่องก็ซ้ำกัน ในอนาคตคงมีมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันก็มีเรื่องหลักๆ ที่ร้านหนังสือควรจะมีค่อนข้างครบ และราคาถูกกว่าปกแข็งประมาณครึ่งหนึ่ง โดยเฉลี่ยหนังสือออกใหม่ ราคาไม่เกิน 10 USD
ในการใช้งานจริง สิ่งที่สำคัญคือน้ำหนัก รูปร่าง และความสะดวกในการถือและพลิกหน้า ซึ่งสำหรับผมพบว่าไม่มีปัญหา ทุกอย่างลงตัว น้ำหนักกำลังดี จับแล้วมั่นคง ปุ่มไม่เผลอกดได้ง่าย อ่านไปซักพักก็จะลืมว่ากำลังอ่านจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่
Kindle in a hand
การพกพา สมควรอย่างยิ่งที่จะใส่ปกไว้ ช่วยปกป้องหน้าจอ ปุ่ม และการกดทับได้ดีพอสมควร หน้าตาเมื่อใส่ปกแล้วเหมือนสมุดบันทึกทั่วไป ไม่มีใครดูออกว่าเป็น Kindle
Kindle with the cover
หลังใช้งานมาได้สองอาทิตย์ พบว่าความสะดวกในการพกพาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Kindle มีประโยชน์ เพราะสามารถอ่านได้ทุกที่ ไม่ต้องเลือกว่าจะเอาเล่มไหนไปที่ไหนกับเรา สามารถนอนอ่านบนเตียงได้สบายๆ โดยไม่เมื่อยมือมากนัก และไม่ต้องกังวลกับการชาร์จไฟเพราะกินไฟน้อยมากเมื่อปิด wireless
อีกปัจจัยหนึ่งคือเรื่องทางจิตวิทยา ว่า e-book ทำให้เราอ่านไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องกังวลว่ายังเหลือที่ยังไม่ได้อ่านอีกเท่าไหร่ ซึ่งต่างจากหนังสือเล่มที่บางครั้ง ความหนาก็ทำให้เราหมดกำลังใจที่จะอ่าน ซึ่งเรื่องนี้ผมพบว่า Kindle ช่วยให้ผมอ่านแต่ละครั้งได้นานขึ้น มากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด
พูดข้อดีมาเยอะ มาถึงข้อเสียซึ่งก็มีบ้าง เช่น หนังสือที่ซื้อมานั้นเป็นฟอร์แมตพิเศษของ Kindle และติด DRM ทำให้เราต้องใช้ Kindle ไปตลอดถ้ายังต้องการอ่านหนังสือที่ซื้อมาทั้งหมด นอกจากนั้น การติด DRM ทำให้เราไม่สามารถให้เพื่อนยืมหนังสือไปอ่านได้ ส่วนเรื่องอ่านๆ ก็อาจจะเป็นความรู้สึกว่าไม่ได้หยิบจับหนังสือเป็นเล่มๆ ไม่ได้กลิ่นของหนังสือ และไม่สามารถนำหนังสือที่ซื้อมาตกแต่งบ้านได้
สุดท้าย คือหนังสือต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ก็เข้าใจว่าสามารถหาวิธีลงฟอนต์ไทย เพื่อใช้กับ PDF ภาษาไทยได้ ปัญหาคือหนังสือ e-book ภาษาไทยยังไม่ค่อยมี ทำให้เครื่องอ่าน e-book อย่าง Kindle มีประโยชน์กับคนที่อ่านภาษาอังกฤษเท่านั้น